พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?

พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็นประกันภาคบังคับ ที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีการประกันภัย พรบ ไม่ว่าจะเป็นรถเก่า หรือรถใหม่ เจ้าของรถ หรือผู้มีสิทธิ ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อหรือผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวต้องจัดให้มีการทำประกันภัยตาม พรบ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ทำประกันภัย อุ่นใจ มีความคุ้มครอง พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติจากรถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย)

ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เบื้องต้น (จ่ายภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด)

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30000/คน

กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินจำนวน 35000/คน

(หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน 65000บาท)

ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ค่าสินไหมทดแทน (จ่ายเมื่อพิสูจน์ความรับผิดแล้ว รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้)

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 80000/คน

กรณีเบิกค่าชดเชยนอนรักษาตัว 200/วัน ไม่เกิน 20 วัน

กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จะได้รับเงิน 300000/คน

กรณีสูยเสียอวัยวะ จ่าย 200000-300000/คน (เป็นไปตามเงื่อนไข ตามอัตราที่กำหนด)

อย่าปล่อยให้กรมธรรม์หมดอายุ เพราะรถที่ขาดความคุ้มครองและในกรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ประสบภัยนั้นจะไม่สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทน จากบระกันภัยได้ ดังนั้นการต่ออายุกรมธรรม์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าประสบอุบัติเหตุ

จากรถ กรมธรรม์ประกันภัย พรบ จะช่วยท่านได้

อัตรค่าเบี้ยประกันภัย พรบ. ตาม กฏหมายกำหนดมีดังนี้

รถยนต์ส่วนบุคคล

รถเก๋ง/รถกระบะ 4 ประตู 645.24 บาท

รถกระบะ /แคป /ตอนเดียว 967.26 บาท

รถตู้ ป้ายขาวอักษรฟ้า 1182.35 บาท

รถจักรยานยนต์

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท

75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 323.14 บาท

125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท

150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท

รถจักรยานยนต์ สาธารณะ เกิน 75 ถึง 125 ซี.ซี. 376.64 บาท

รถยนต์สาธารณะ /ให้เช่า/รับจ้าง

รถแท็กซี่ ป้ายเหลืองอักษรดำ 2014.56 บาท

รถตู้โดยสาร ป้ายเหลืองอักษรดำ 2493.10 บาท

โทษของการฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตาม พรบ.

เจ้าของรถที่ฝ่าฝืนไม่จัดทำประกันภัย ตาม พรบ. มีความผิด มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10000 บาท

ผู้ที่นำรถไปใช้ ไม่ได้จัดทำประกันภัย ตาม พรบ. มีความผิด มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10000 บาท

วิธีการซื้อ/ต่ออายุ ประกันภัยรถยนต์ พรบ สามารถซื้อก่อนที่ พรบ เดิมจะหมดลงได้ล่วงหน้า ไม่เกิน 90 วันและสามารถซื้อออนไลน์ ได้ทาง ประกันโดนใจ รับกรมธรรม์ทางอีเล็กทอนิกส์ สามารถนำสำเนาไปต่อภาษีได้ทันที ในการซื้อ/ต่อ พรบ ทุกครั้ง ผู้เอาประกันควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้ถูกต้อง

–  วันคุ้มครอง/ทะเบียนรถที่เอาประกัน

– ชื่อ-นามสกุล/เบอร์โทรและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เอาประกันภัย

– เลขตัวถัง/ประเภทรถ/ยี่ห้อของรถ